วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

แนะนำการสอบ

คำแนะนำในการสอบกรมวิชาการเกษตร
การเตรียมตัวสอบ
ในการสอบบรรจุรับราชการของกรมวิชาการเกษตร จะต้องเป็นผู้สอบผ่านการวัดความรู้ความสามารถทั่วไป (ภาค ก.) ของสำนักงาน ก.พ.  แต่ถ้าสอบพนักงานราชการไม่ต้องใช้  ใบ กพ. ผู้เข้าสอบควรเตรียมตัวมาอย่างดี  อ่านวิชาเฉพาะตำแหน่งให้มากๆ ควรอ่านหนังสือเพื่อเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์  และควรจัดตารางในการอ่านหนังสือ เพื่อทบทวน ทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิชาเฉพาะตำแหน่งให้มากๆ
การสอบเข้ากรมวิชาการเกษตรจะมีการประเมินสมรรถนะอยู่  2  ครั้ง   คือ  ครั้งที่  1  โดยการสอบข้อเขียน   ครั้งที่  2  โดยการสัมภาษณ์  และจะต้องผ่านการประเมินสมรรถนะครั้งที่ 1 โดยวิธีการสอบข้อเขียนก่อนและเมื่อผ่านการประเมินสรรถนะครั้งที่ 1 แล้ว จึงจะมีสิทธิ์เข้ารับการประเมินสมรรถนะครั้งที่  2 โดยวิธีสอบสัมภาษณ์  ทั้งนี้จะต้องได้คะแนนสอบข้อเขียนไม่ต่ำกว่าร้อยละ  60
เนื้อหาความรู้ที่ออกสอบของกรมวิชาการเกษตร ได้แก่  ความรู้เกี่ยวกับหน่วยงาน  เช่น ประวัติ วิสัยทัศน์  พันธกิจ ค่านิยม ผู้บริหาร หน้าที่ความรับผิดชอบ  โดยการหาข้อมูลจากอินเตอร์เน็ต
การสอบวิชาเฉพาะตำแหน่ง  ผู้เข้าสอบควรมีความรู้และความเข้าใจในวิชาชีพที่ตนเองนั้นมาสมัครสอบ  ส่วนข้อสอบ จะออกตรงตามที่ประกาศสอบ  ควรอ่านกฎหมายและระเบียบที่เกี่ยวข้องกับวิชาเฉพาะตำแหน่ง  เพราะในข้อสอบจะมีวิชากฎหมายด้วย ผู้เข้าสอบต้องอ่านหนังสือมาให้มากๆรับรองทำข้อสอบได้แน่นอน เพราะข้อสอบไม่ยาก  ออกไม่ลึก แต่จะออกตรงๆ
ส่วนในการสอบสัมภาษณ์เป็นการสอบด้วยการสนทนาหรือพูดคุยกัน ดังนั้นผู้เข้าสอบควรจะทบทวนเตรียมความรู้หรือข้อมูลในส่วนที่เป็นวิชาการหรือเนื้อหาต่าง ๆ       ที่ได้เตรียมไว้แล้วในการเตรียมตัวเข้าสอบข้อเขียน   ซึ่งอาจจะใช้เวลาครั้งละ 10 – 30 นาที   แล้วแต่กรณี หรืออาจกล่าวอีกนัยหนึ่งว่า การเตรียมตัวเข้ารับการสอบสัมภาษณ์จำเป็นต้องทบทวนความรู้ และข้อมูลบางประการมิใช่เข้าสอบโดยมิได้ทบทวนความรู้หรือข้อมูลอะไรเลย  การสอบสัมภาษณ์ของกรมวิชาการเกษตร กรรมการจะถามว่าเคยทำอะไรมาแล้วบ้าง ก็ให้แนะนำตนเองเยอะๆเข้าไว้   รู้เรื่องอะไรเกี่ยวกับการเกษตรบ้าง และควรจะหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าเกษตรหลัก ๆ เช่น ข้าว อ้อย ยางพารา มันสำปะหลัง ไว้ด้วย
ในการสัมภาษณ์ควรทำใจให้สบาย ตอบคำถามแบบธรรมขาติ เป็นตัวของตัวเอง  โดยส่วนใหญ่กรรมการจะถามคำถามต่อไปนี้ คือ 1. ให้แนะนำตัวเอง   2.เหตุผลในการตัดสินใจเข้ารับราชการ   3. เล่าถึงประสบการณ์ในการทำงาน
การสอบสัมภาษณ์ สำหรับผู้ชายควรโกนหนวดเคราให้เรียบร้อย ผู้หญิงเสื้อผ้าหน้าผมต้องเยี่ยม แนะนำให้สวมสูทด้วยจะดูดีมีระดับ แต่ไม่ควรแต่งหน้าแบบงานรับปริญญาเป็นเจ้าป้าโดยเด็ดขาด  คำถามที่จะโดนถาม ส่วนใหญ่จะเป็นประมาณ ตำแหน่งนี้ทำหน้าที่อะไร ความรู้เกี่ยวกับตำแหน่ง ความรู้เกี่ยวกับกรมฯ ประวัติส่วนตัว ประวัติการทำงาน รอบแห่งการสอบภาค ค. หรือรอบความเหมาะสมกับตำแหน่ง เป็นรอบที่ต้อง อาศัยกำลังภายใน รอบนี้ต่างหาก ที่ต้องระมัดระวังบรรดา เด็กเส้น เด็กฝากทั้งหลาย เป็นรอบแห่งการวิ่งเข้าหาผู้มีบุญหนักศักดิ์ใหญ่ ในกระทรวง กรม กอง ต้องรีบนำกระเช้าของขวัญติดไม้ติดมือ ไปกราบไหว้ท่านโดยด่วน ให้ท่านเอ็นดู อุปการคุณ  เนื่องจากคะแนนสอบในภาคนี้ มีประมาณกึ่งหนึ่งของคะแนนข้อเขียน และค่อนข้างมีผลชี้เป็น ชี้ตาย ชี้ได้ ชี้ไม่ได้   วันประกาศผลจะเรียงคะแนนตามลำดับมากไปหาน้อย ต้องรอลุ้นอย่างระทึกใจ ทั้งนี้ในประกาศรับสมัครจะบอกว่ารับจำนวนเท่าใด หากติดลำดับที่เรียกบรรจุในครั้งแรก จะมีหนังสือเรียกตัวไปบรรจุ แต่หากไม่ได้รับการบรรจุในรอบแรก ต้องคอยติดต่อข่าวสารอย่างตลอด บัญชีการสอบแข่งขันจะมีอายุประมาณ 2 ปี  กรณีได้การบรรจุในรอบแรก ต้องเตรียมหลักฐานทั้งตัวจริงและสำเนาไปให้พร้อม อันจะได้แก่ ใบรับรองแพทย์ ใบปริญญาบัตร ใบแสดงผลการเรียน ใบทะเบียนสมรส ทั้งคู่สมรส และของบิดา มารดา ขั้นตอนการบรรจุ จะต้องกรอกเอกสาร กพ.7 ซึ่งเปรียบเสมือนทะเบียนประวัติของตัวเราเอง ในวันนั้นอาจจะมีการปฐมนิเทศ ภารกิจของกรมฯ สิทธิผลประโยชน์ที่พึงได้ สวัสดิการ ค่ารักษาพยาบาล ค่าเล่าเรียนบุตร การทดลองราชการ ระเบียบการลา ฯลฯ

วิชาที่ใช้สอบ   มีดังนี้คือ
1. ความรู้ความสามารถเฉพาะตำแหน่ง  ( 200  คะแนน )
2. การสอบสัมภาษณ์   ( 100  คะแนน )  เป็นการทดสอบเพื่อวัดความเหมาะสมกับตําแหน่งที่จะบรรจุและแต่งตั้งโดยวิธีการสัมภาษณ์หรือวิธีอื่นเพื่อประเมินความเหมาะสมกับตําแหน่งจากประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา  ประวัติการทํางานประสบการณ์ ท่วงทีวาจา อุปนิสัย อารมณ์ ทัศนคติการปรับตัวเข้ากับผู้ร่วมงาน สังคมและสิ่งแวดล้อม ความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ ปฏิภาณไหวพริบ บุคลิกภาพและพฤติกรรมของผู้สอบแข่งขันเพื่อให้ได้บุคคลที่มีคุณธรรม จริยธรรม ความรู้ความสามารถ ทักษะ สมรรถนะ และอื่นๆ ที่จําเป็นสําหรับตําแหน่ง

รายละเอียดวิชาที่สอบ
เจ้าพนักงานธุรการ กรมวิชาการเกษตร
1 ความรู้เกี่ยวกับ-กรมวิชาการเกษตร
2 แนวข้อสอบเกี่ยวกับกรมวิชาการเกษตร
3 การบริหารจัดการภายในสำนักงาน
4 การบริหารจัดการองค์กร
5 ความรู้เกี่ยวกับงานสารบรรณและธุรการทั่วไป
6 แนวข้อสอบความรู้งานธุรการ
7 สรุปสาระสำคัญระเบียบงานสารบรรณ (สูตรและเทคนิคการจำ)
8 แนวข้อสอบระเบียบงานสารบรรณ พ.ศ.2526 และแก้ไขเพิ่มเติม
9 เทคนิคการสอบสัมภาษณ์

ตำแหน่งที่สอบ
เจ้าพนักงานการเกษตร
เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี
เจ้าพนักงานธุรการ
เจ้าหน้าที่บริหารทั่วไป
นักวิชาการเกษตร
นักวิชาการเงินและบัญชี
นักวิทยาศาสตร์
นายช่างศิลป์ปฏิบัติงาน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น