วันศุกร์ที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ความรู้ทั่วไป



ประวัติความเป็นมา
    กรมวิชาการเกษตรได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น หน่วยงานหนึ่งในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เมื่อวันที่ ๑ ตุลาคม ๒๕๑๕ แต่ก่อนที่จะมาเป็นกรมวิชาการเกษตรในปัจจุบันหน่วยงานนี้มีประวัติความเป็นมาที่ยาวนาน นับย้อนหลังไปเมื่อวันที่ ๓๐ กันยายน ๒๔๔๖ ได้มีการจัดตั้งกรมช่างไหมขึ้นในกระทรวงเกษตราธิการซึ่งถือเป็นการกำเนิดกรมวิชาการเกษตร

พ.ศ. ๒๔๔๙ เปลี่ยนชื่อกรมช่างไหม เป็น กรมเพาะปลูก
พ.ศ. ๒๔๗๔ เปลี่ยนชื่อกรมเพาะปลูก เป็น กรมตรวจกสิกรรม
พ.ศ. ๒๔๗๖ เปลี่ยนชื่อกรมตรยจกสิกรรม เป็น กรมเกษตร
พ.ศ. ๒๔๗๘ เปลี่ยนชื่อกรมเกษตร เป็น กรมเกษตรและการประมง
พ.ศ. ๒๔๗๔ แยกกรมเกษตรและการประมงเป็น ๒ กรม คือ กรมเกษตร และ กรมการประมง
พ.ศ. ๒๔๙๕ เปลี่ยนชื่อกรมเกษตร เป็น กรมการกสิกรรม
พ.ศ. ๒๔๙๖ ยกฐานะกองการข้าวและการทดลอง ซึ่งอยู่ภายใต้สังกัดของกรมการกสิกรรม จัดตั้งเป็นกรมการข้าว แยกออกมาจาก กรมการกสิกรรม
พ.ศ. ๒๔๙๗ เปลี่ยนชื่อกรมการกสิกรรม เป็น กรมกสิกรรม
พ.ศ. ๒๕๑๕ รวมกรมการข้าว กับ กรมกสิกรรม สถาปนาเป็น กรมวิชาการเกษตร

วิสัยทัศน์
     กรมวิชาการเกษตรเป็นองค์กรที่เป็นเลิศด้านการวิจัยและพัฒนาด้านพืช เครื่องจักรกลการเกษตร และเป็นศูนย์กลางรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรด้านพืชในระดับสากล บนพื้นฐานการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

ค่านิยม
     ซื่อสัตย์  โปร่งใส  งานวิจัยมีคุณภาพ

วัฒนธรรม 
     รักองค์กร ทำงานอย่างมีเป้าหมาย และมุ่งผลสัมฤทธิ์

พันธกิจ
      ๑. สร้างและถ่ายทอดองค์ความรู้จากงานวิจัยด้านพืชและเครื่องจักรกลการเกษตร สู่กลุ่มเป้าหมาย
      ๒. กำหนดและกำกับดูแลมาตรฐานระบบการผลิตและผลิตพันธุ์พืชและปัจจัยการผลิต พัฒนาระบบตรวจรับรองสินค้าการเกษตรด้านพืชให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล 
      ๓. อนุรักษ์และพัฒนาการใช้ประโยชน์จากความหลากหลายทางชีวภาพด้านพืช แมลง และจุลินทรีย์
      ๔. กำกับ ดูแล และพัฒนากฎหมายที่กรมวิชาการเกษตรรับผิดชอบ

ภารกิจตามกฏหมายจัดตั้งกรม
    อาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๘ ฉ แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน พ.ศ. ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน (ฉบับที่ ๔) พ.ศ. ๒๕๔๓ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ออกกฎกระทรวงฯ พ.ศ. ๒๕๕๗ ให้กรมวิชาการเกษตร มีภารกิจเกี่ยวกับพืช โดยศึกษา วิจัยและพัฒนาพืช เครื่องจักรกลการเกษตร และปัจจัยการผลิต ถ่ายทอดเทคโนโลยีการผลิตพืชสู่กลุ่มเป้าหมายทั้งภาครัฐ เอกชน และเกษตรกร บริการวิเคราะห์ ทดสอบ ตรวจสอบ รับรองมาตรฐานสินค้าพืช รวมทั้งให้คําแนะนําเกี่ยวกับดิน น้ํา ปุ๋ย พืช วัสดุการเกษตร ผลผลิต และผลิตภัณฑ์พืช เพื่อยกระดับมาตรฐานการผลิตพืชเพื่อพัฒนาผลผลิตพืช ให้มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภคตามมาตรฐานสากล และเพื่อให้บริการการส่งออกสินค้าเกษตรที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน

อำนาจหน้าที่ 
      (๑) ดําเนินการตามกฎหมายว่าด้วยการกักพืช กฎหมายว่าด้วยปุ๋ย กฎหมายว่าด้วยพันธุ์พืช กฎหมายว่าด้วยวัตถุอันตราย กฎหมายว่าด้วยการควบคุมยาง กฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองพันธุ์พืช และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
      (๒) ศึกษา ค้นคว้า ทดลอง วิจัย และพัฒนาวิชาการเกษตรด้านต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับพืช
      (๓) ให้บริการด้านการวิเคราะห์ ทดสอบ ตรวจสอบ และรับรองมาตรฐานสินค้าพืช และให้คําแนะนําเกี่ยวกับเรื่องดิน น้ํา ปุ๋ย พืช วัสดุการเกษตร ผลผลิต และผลิตภัณฑ์พืช การบริการส่งออกสินค้าเกษตร และอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง
      (๔) ให้บริการวิชาการ ข้อมูลข่าวสาร และเทคโนโลยีการเกษตรแก่เจ้าหน้าที่ เกษตรกร เอกชน และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง
      (๕) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกําหนดให้เป็นอํานาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่รัฐมนตรี หรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

การแบ่งส่วนราชการกรมวิชาการเกษตร   มีดังนี้

     (๑)  สํานักงานเลขานุการกรม
     (๒)  กองการเจ้าหน้าที่
     (๓)  กองคลัง
     (๔)  กองแผนงานและวิชาการ
     (๕)  กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช
     (๖)  กองวิจัยพัฒนาปัจจัยการผลิตทางการเกษตร
     (๗) กองวิจัยและพัฒนาวิทยาการหลังการเก็บเกี่ยวและแปรรูปผลิตผลเกษตร
     (๘)  ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
     (๙)  สถาบันวิจัยเกษตรวิศวกรรม
    (๑๐) สถาบันวิจัยพืชไร่และพืชทดแทนพลังงาน
    (๑๑) สถาบันวิจัยพืชสวน
    (๑๒) สํานักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
    (๑๓) สํานักคุ้มครองพันธุ์พืช
    (๑๔) สํานักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
    (๑๕) สํานักวิจัยพัฒนาเทคโนโลยีชีวภาพ
    (๑๖)-(๒๓) สํานักวิจัยและพัฒนาการเกษตร เขตที่ ๑ - ๘

หน่วยงานจัดตั้งภายใน

    (๒๔)  สำนักนิติการ
    (๒๕)  กองประสานงานโครงการพระราชดำริ
    (๒๖)  กองการยาง
    (๒๓)  กองวิจัยพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืช

ข้อมุลจาก :  http://www.doa.go.th

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น